@tinnakorn

Plant Extract สารสกัดจากธรรมชาติ ทางเลือกใหม่ เพื่อสุขภาพ

หน้าแรก / บทความ / Plant Extract สารสกัดจากธรรมชาติ ทางเลือกใหม่ เพื่อสุขภาพ

          ปัจจุบันผู้บริโภคมองว่าผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ ซึ่งนั่นจะเป็นปัจจัยในการกระตุ้นความต้องการสารสกัดจากพืชที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตลาดสารสกัดจากพืชมีมูลค่า 43.32 พันล้านดอลลาร์สหัฐในปี 2019 และคาดว่าจะถึง 66.81 พันล้านดอลลาร์สหัฐในปี 2027 ซึ่งเติบโตที่ CAGR 6.0% ในปี 2020 ถึง 2027

  เนื่องด้วยประโยชน์ของสารสกัดจากพืช (Plant Extract) ที่หลากหลาย จึงถูกนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการรักษา อาหารและเครื่องดื่ม ด้านการเกษตร ด้านความงาม หรือด้านอื่นๆอีกมากมาย



Plant Extract คืออะไร

  Plant Extract หรือ สารสกัดจากพืช คือ สารสำคัญ (Active Compounds) ที่สกัดได้จากพืชจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น เปลือก ใบ ลําต้น ดอกผล ราก หัวหรือเหง้า ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์เฉพาะทาง และมีความเป็นลักษณะเฉพาะตัวของพืชในแต่ละชนิดนั้นๆ โดยใช้ตัวทำละลายหรือวิธีการที่เหมาะสมในการสกัด และต้องไม่เปลี่ยนองค์ประกอบของสารสกัดจากพืช



คุณสมบัติของ Plant Extract

  Plant Extract หรือสารสกัดจากพืช ประกอบด้วยส่วนประกอบทางเคมีหลากหลายชนิด ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษา เช่น อัลคาลอยด์, โพลีฟีนอล, แคโรทีนอยด์, โพลีแซ็กคาไรด์, กรดอินทรีย์, แทนนิน, สารสีหรือน้ำมันระเหย

  ไฟโตเคมิคอล ที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชเหล่านี้ สามารถจำกัดหรือควบคุมความไม่สมดุลที่เกิดจาก Reactive OIxygen Species (ROS) ที่นำไปสู่การอักเสบ การเสื่อมสภาพของระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ภูมิคุ้มกัน และการเผาผลาญอาหาร หรือแม้แต่การเกิดของเนื้องอก

  นอกจากนี้สารสกัดจากพืชบางชนิดยังใช้ประโยชน์ในการต่อสู้กับเชื้อโรค แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเบาหวาน ต่อต้านริ้วรอย ต้านเนื้องอก ต้านไวรัส หรือต้านภูมิแพ้ รวมทั้งถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนังและเครื่องสำอางค์ เพราะสารสกัดจากพืชบางชนิดมีฤทธิ์ต้านการระคายเคือง ต้านการอักเสบ การรักษาบาดแผล การป้องกันการติดเชื้อ การฆ่าเชื้อ การปกป้องผิว และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น

  Ricinus communis เป็นไม้ดอกในวงศ์ Euphorbiaceae ซึ่งส่วนต่างๆ ของพืชที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ใบ ราก ลำต้น ผล และดอก มีรายงานว่าสารสกัดจากใบ ซึ่งสกัดด้วยสารละลายเมทานอล มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเบาหวาน ต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังและทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น S. aureus, P. aeruginosa รวมทั้ง K. pneumoniae และ E. coli มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา Candida albicans รวมทั้งป้องกันตับ และถูกนำมาใช้ในการรักษามะเร็งผิวหนัง นอกจากนี้สารสกัดจากพืชนี้ยังมีฤทธิ์ในการสมานแผล โดยใช้เป็นยาพอกหรือยาพอกบนแผล



Plant Extract มีประสิทธิภาพยังไง นิยมนำเอาไปทำอะไร

Plant Extract หรือสารสกัดพืช นิยมนำไปใช้ประโยชน์ด้วยกันใหญ่ 3 ด้านใหญ่ๆดังนี้


ด้านการรักษา (Treatment)

สารสกัดจากพืชมีประโยชน์ในการรักษาต่างๆ มากมาย หลากหลายแขนง ตัวอย่างเช่น

  • สารสกัดจากใบสะเดา (Neem Leaf Extract) ใช้ทำยารักษาไข้มาลาเรีย และน้ำมันสกัดจากเมล็ดสะเดาใช้ในการแก้โรคเบาหวาน
  • สารสกัดจากตะไคร้ (Lemongrass Extract) ถูกใช้ประโยชน์ทางยา โดยใช้เป็นยาขับปัสสาวะอ่อนๆ และยาบำรุงไต
  • สารสกัดจากข่า (Galangal Extract) มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ มีประโยชน์ทางยาใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้บิด ท้องอืด โรคหืด เป็นกระสาย รับประทานกับยาหอม ช่วยเร่งการหายใจบรรเทาอาการจุดเสียด
  • สารสกัดจากกะเพรา (Basil Extract) มีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษามะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน และแก้อาการจุกเสียด
  • สารสกัดจากต้นแบลกโคฮอส (Black Cohosh Extract) ถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับการหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ใจสั่น นอนไม่หลับ ภาวะช่องคลอดแห้ง กระดูกพรุน เพื่อทดแทนการบำบัดด้วยฮอร์โมน
  • สารสกัดจากกระเทียม (Garlic Extract) มีสาร ajoene ช่วยในการลดปริมาณคอลเลสเตอรอลในกระแสเลือด ยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด และป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด
  • สารสกัดจากพริกไทย (Pepper Extract) ซึ่งในพริกไทยมีสาร piperine ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่ดื้อต่อยาเพนนิซิลลิน และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการทางานของเอนไซม์ acetylcholinesterase ที่ทำลายสารสื่อประสาท acetylcholine ในสมอง เนื่องจากถ้า acetylcholine ในสมองลดลงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
  • สารสกัดจากใบชาเขียว (Green Tea Leaf Extract) ใบในชาเขียวมีสาร Camellia sinensis  มี catechin และอนุพันธ์ต่างๆที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถยับยั้งการเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งปอดและมะเร็งหลอดอาหาร

ด้านความงาม (Beauty)

  สารสกัดจากพืช มักนิยมนำมาใช้กับความสวยงามอยู่ไม่น้อย โดยส่วนมาก สารสกัดที่นิยมนำมาใช้กับความสวยงามนั้น มักใช้เป็นการต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณเสื่อมสภาพช้า หรือรักษาผิวหน้าให้ดูกระชับ กระจ่างใส ทางทินกรขอยกตัวอย่างดังนี้

  • สารสกัดเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) จาก Vitris species มี proanthocyanidin และ flavonoids มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถปกป้อง collagen และ elastin จากการถูกทำลายโดยรังสี UV
  • สารสกัดจากรากหม่อน (Mulberry Root Extract) จาก Morus alba L. เป็นสารสกัดจากสมุนไพรที่ช่วยลดจุดด่างดำบนใบหน้า ทำให้ผิวหน้าใสขึ้น (skin lightening) โดยมีกลไกยับยั้งฤทธิ์เอนไซม์ไทโรซิเนส (anti-tyrosinase activity) ทำให้ลดอัตราการสร้างเม็ดสีเมลานิน (melanin) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สีผิวเข้มขึ้น
  • สารสกัดจากขมิ้นชัน (Curcuma Extract)  จาก Longa Linn. มีสาร Curcumin และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะ ขมิ้นมีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราหลายชนิด ใช้ทำผิวที่มีผดผื่นคัน ผงขมิ้นใช้ทาตัว เพื่อให้มีสีเหลืองทอง ใช้บำรุงผิว และช่วยฆ่าเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังบางชนิด
  • สารสกัดจากเมล็ดลำไย (Longan Seed Extract) มีสารสารสำคัญ ได้แก่ กัลลิคแอซิด (Gallic acid), อัลลาจิค แอซิด (Ellagic acid) และสารฟลาโวนอยด์อีกหลายชนิด
    ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่า สารสกัดจากเมล็ดลำไยอบแห้งมีคุณสมบัติทางการแพทย์ ได้แก่ สารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยับยั้งการสลายกระดูกอ่อนได้อีกด้วย

ด้านการเกษตร (Agriculture)

  สารสกัดจากพืชนิยมถูกนำมาใช้ในการควบคุมศัตรูพืช โดยเฉพาะกับแมลง เช่น ใช้เป็นสารไล่แมลง สารฆ่าแมลง ทำให้แมลงกินพืช-ผักน้อยลง มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลง การผลิตไข่และปริมาณการฟักไข่ลดน้อยลง และลดการวางไข่ของตัวเมีย ตัวอย่างเช่น

  • สารสกัดจากดีปลี (Long Pepper Extract) มีฤทธิ์ในการฆ่าและควบคุมการเจริญเติบโตของหนอนกระทู้ผัก และยังพบอีกว่าสารสกัดที่ได้จากลำต้นค้างคาวดำ มีฤทธิ์ยับยั้งการกินใบพืชของหนอนกระทู้ผักได้อีกด้วย

Plant Extract แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ในปัจจุบันมีการแบ่ง Plant Extract ตามหน้าที่การส่งเสริมสุขภาพออกเป็น 27 กลุ่ม ดังนี้

  1. เสริมระบบภูมิคุ้มกัน
  2. ช่วยลดไขมันในเลือด
  3. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  4. ต้านอนุมูลอิสระ
  5. ช่วยพัฒนาความจำ
  6. บรรเทาความเมื่อยล้าทางสายตา
  7. ปรับปรุงการทนต่อภาวะพร่องออกซิเจน
  8. ช่วยชำระล้างในลำคอ
  9. ช่วยลดความดันโลหิต
  10. ช่วยการนอนหลับ
  11. กระตุ้นการหลั่งน้ำนม
  12. บรรเทาความเมื่อยล้าทางกายภาพ
  13. ส่งเสริม lead discharge
  14. ป้องกันอันตรายจากรังสี
  15. ช่วยลดน้ำหนัก
  16. ปรับปรุงการเจริญเติบโต
  17. เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
  18. ปรับปรุงภาวะโลหิตจาง
  19. ป้องกันตับเสียหายจากสารเคมี
  20. ป้องกันสิว
  21. ขจัดเกลื้อน
  22. ปรับปรุงความชุ่มชื้นของผิวหนัง
  23. ปรับปรุงปริมาณน้ำมันในผิว
  24. ควบคุมแบคทีเรียในลำไส้
  25. ส่งเสริมการย่อยอาหาร
  26. ช่วยการระบาย
  27. ป้องกันเยื่อเมือกในกระเพาะอาหารเสียหาย

แหล่งข้อมูล

Jennifer et al. (2017). Antibacterial and antifungal activities and phytochemical profile of leaf extract from different extractants of Ricinus communis against selected pathogens. BMC Research Notes. 10:660.

อ.ดร.ฐิติพรรณ ฉิมสุข. สมุนไพร และการนำไปใช้ประโยชน์

ปิยรัตน์ นามเสนา (2557). คุณสมบัติการยับยั้งเชื้อรา Alternaria brassicicola ของสารสกัดหยาบจากใบพืช. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

https://www.mdpi.com/journal/plants/special_issues/biological_activities

https://www.pharmiweb.com/article/what-are-plant-extracts

https://www.verifiedmarketresearch.com/product/global-plant-extractsmarket-size-and-forecast-to-2025/

Related articles