Acesulfame K (Acesulfame Potassium) (แอซีซัลเฟม เค หรือ แอซีซัลเฟม โพแทสเซียม) คือวัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Alternative sweetener) แบบความความหวานสูง ชนิดหนึ่งที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการหรือไม่ให้พลังงาน มีการใช้อย่างยาวนานตั้งแต่อดีต จัดเป็นสารแทนความหวานที่นิยมอย่างมาก จึงเป็นที่คุณเคยของ R&D และผู้บริโภค อีกทั้งราคาเมื่อเทียบกับน้ำตาลยังจัดว่าถูกกว่า ทำให้สามารถลดค่าวัตถุดิบลงได้
เนื่องด้วยปัจจุบันผู้บริโภคกำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ อาทิเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ ประกอบกับเรื่องของภาษีน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ส่งผลให้ทางผู้ประกอบการเปลี่ยนจากการใช้น้ำตาลมาเป็น Acesulfame-K ร่วมกับการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลอื่นๆ แทน เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพมากขึ้น
Acesulfame K อาจรู้จักในชื่อของ E number E950 โดย Acesulfame-K มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีสูตรโมเลกุล C4H4KNO4S และมีมวลโมเลกุล คือ 201.24 g/mol ในปี ค.ศ. 1998 U.S. Food and Drug Administration (FDA) และองค์กรเกี่ยวกับสุขภาพหลายองค์กรยืนยันว่า Acesulfame-K มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีงานวิจัยมากกว่า 90 ประเทศ พิสูจน์ได้ผลเช่นเดียวกัน ดังนั้น Acesulfame-K จึงถูกนำมาใช้ในเครื่องดื่มและอาหารกว่า 4,000 ชนิด ใน 90 ประเทศทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นที่มีนำ Acesulfame-K มาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มแทนการใช้น้ำตาล
Acesulfame K คือวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้แทนน้ำตาล ซึ่งไม่ถูกเมแทบอลิซึมหรือเกิดการสะสมในร่างกาย เนื่องจากหลังจากบริโภค Acesulfame K แล้ว จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็ว และถูกกำจัดออกในรูปเดิม การใช้ Acesulfame K ในคนยังไม่พบอันตรายใดๆ และไม่พบการเกิดโรคมะเร็งในคนจากการบริโภค Acesulfame K จากข้อสรุปขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา โดยสรุปจากข้อมูลที่มีการทดลองทั้งในคนและสัตว์ทดลองมากกว่า 90 การศึกษา ซึ่งปริมาณที่ใช้ Acesulfame K ในการทดลองส่วนใหญ่จะใช้ในขนาดสูงกว่าขนาดปกติที่รับประทานในคน นอกจากนี้สามารถใช้ Acesulfame K ได้ในสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วย phenylketonuria ได้
การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือน้ำตาลเทียมเพียงอย่างเดียวนั้น อาจไม่สามารถลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ แต่ผู้ป่วยต้องลดการบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง เช่น ขนมปังและข้าว และต้องลดการบริโภคไขมันจากน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร และอาหารที่มีไขมันสูงร่วมด้วย อย่างไรก็ตามการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นอาจส่งผลให้การรับรสต่างไปจากการใช้น้ำตาล เนื่องจากสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นมีความหวานมากกว่าน้ำตาลหลายเท่า จึงควรใช้ในปริมาณน้อยก่อน แล้วค่อยปรับเพิ่มปริมาณการใช้จนกว่าจะได้รสชาติที่ต้องการ เพื่อหลีกเลี่ยงรสหวานจัดที่มากเกินไป หรือรสขมติดลิ้นเมื่อใช้น้ำตาลเทียมในปริมาณมาก ดังนั้นการใช้สารให้ความแทนน้ำตาลเทียมได้อย่างปลอดภัยนั้น ไม่ควรเกินค่า Acceptable Daily Intake (ADI) ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดต่อวันที่ยอมรับว่าใช้ได้อย่างงปลอดภัยในคน
สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลถือเป็นประโยชน์ในผู้สูงอายุ และสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยหากบริโภคไม่เกินค่า ADI ที่กำหนดไว้ ในส่วนของการใช้สารให้ความแทนน้ำตาลในเด็กนั้น พบว่าสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยเช่นเดียวกันหากไม่เกินค่า ADI อย่างไรก็ตามผู้ปกครองไม่ควรใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลในการประกอบอาหารและเครื่องดื่มให้เด็กบริโภคเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากยังไม่มีการศึกษามากนักเกี่ยวกับการใช้น้ำตาลเทียมในเด็ก จึงไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยที่ชัดเจนของการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือน้ำตาลเทียมในเด็ก
U.S.FDA ได้กำหนดค่า ADI ของ Acesulfame K เท่ากับ 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (1 กิโลกรัม) ของผู้บริโภคต่อวัน (ประมาณ 23 ซอง)
Scientific Committee on Food (SCF) ได้ประกาศ Acceptable Daily Intake (ADI) สำหรับ acesulfame potassium เป็น 9 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (1 กิโลกรัม) ของผู้บริโภคต่อวัน
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 เรื่อง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2)
รหัสอาหาร | หมวดอาหาร | ปริมาณสูงสุดที่อนุญาต (มก./กก.) |
01.1.4 | เครื่องดื่มที่มีนมเป็นส่วนประกอบหลัก (ปรุงแต่ง) | 350 |
01.3.2 | ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เติมในเครื่องดื่ม | 2000 |
01.4.4 | ผลิตภัณฑ์เลียนแบบครีม | 1000 |
01.5.2 | ผลิตภัณฑ์เลียนแบบนมผงและผลิตภัณฑ์เลียนแบบครีมผง | 1000 |
01.6.5 | ผลิตภัณฑ์เลียนแบบเนยแข็ง | 350 |
1.7 | ขนมหวานที่มีนมเป็นส่วนประกอบหลัก | 350 |
2.3 | ผลิตภัณฑ์อิมัลชันประเภทน้ำมันในน้ำ | 1000 |
2.4 | ขนมหวานที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก | 350 |
3 | ไอศกรีมหวานเย็น | 800 |
04.1.2.1 | ผลไม้แช่เยือกแข็ง | 500 |
04.1.2.2 | ผลไม้แห้ง | 500 |
04.1.2.3 | ผลไม้ในน้ำส้มสายชู น้ำมัน หรือน้ำเกลือ | 200 |
04.1.2.4 | ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่ง | 350 |
04.1.2.6 | ผลิตภัณฑ์ที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบหลักเพื่อใช้สำหรับทาหรือป้ายหรือเป็นวัตถุดิบ | 1000 |
04.1.2.7 | ผลไม้แช่อิ่ม เชื่อม หรือเคลือบด้วยน้ำตาล | 500 |
04.1.2.8 | ผลไม้แปรูปอื่น ซึ่งรวมถึงผลไม้บด น้ำเชื่อมผลไม้ กะทิและมันกะทิ | 350 |
04.1.2.9 | ขนมหวานที่มีผลไม้เป็นส่วนประกอบหลัก | 350 |
04.1.2.10 | ผลไม้หมักดอง | 350 |
04.1.2.11 | ไส้ขนมที่ทำจากผลไม้ | 350 |
04.1.2.12 | ผลไม้ปรุงสุก | 500 |
04.2.2.3 | ผัก สาหร่ายทะเล ในน้ำส้มสายชู น้ำมัน น้ำเกลือ หรือซอสถั่วเหลือง | 200 |
04.2.2.4 | ผัก สาหร่ายทะเล ที่ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่ง | 350 |
04.2.2.5 | ผัก สาหร่ายทะเล นัทและเมล็ด ที่บดละเอียดและสำหรับใช้ทาหรือป้าย | 1000 |
04.2.2.6 | ผัก สาหร่ายทะเล นัทและเมล็ด ที่บดและเพื่อใช้ประกอบอาหาร | 350 |
04.2.2.7 | ผัก สาหร่ายทะเล ดอง | 1000 |
05.1.1 | โกโก้ผง โกโก้แมส หรือโกโก้เค้ก | 350 |
05.1.2 | โกโก้ไซรัป | 350 |
05.1.3 | ผลิตภัณฑ์โกโก้ที่ใช้สำหรับทาหรือป้าย หรือเป็นไส้ขนม หรือเป็นวัตถุดิบ | 1000 |
05.1.4 | ผลิตภัณฑ์โกโก้ และผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต | 500 |
05.1.5 | ผลิตภัณฑ์เลียนแบบช็อกโกแลต | 500 |
05.2.1 | ลูกกวาดชนิดแข็ง | 500 |
05.2.2 | ลูกกวาดชนิดนุ่ม และขนมหวานอื่นๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ขนมหวานตามหมวด 01.7, 02.4, 04.1.2.9 และ 06.5 | 1000 |
05.2.3 | นูกัตและมาร์ซิแพน | 1000 |
5.3 | หมากฝรั่ง | 5000 |
5.4 | ผลิตภัณฑ์ใช้เคลือบหรือแต่งหน้าขนม และซอสหวาน | 500 |
6.3 | ผลิตภัณฑ์ธัญชาติสำหรับอาหารเช้า | 1200 |
6.5 | ขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก | 350 |
7.1 | ขนมปังและขนมอบชนิดไม่หวาน และส่วนผสมสำเร็จรูป | 1000 |
7.2 | ขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป | 1000 |
9.2 | สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ผ่านกรรมวิธี | 200 |
9.3 | สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ผ่านกระบวนการกึ่งถนอมอาหาร | 200 |
9.4 | สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่ง | 200 |
10.4 | ขนมหวานที่มีไข่เป็นส่วนประกอบหลัก | 350 |
11.4 | น้ำตาลและไซรัปชนิดอื่นที่ใช้ราดหรือแต่งหน้าขนม | 1000 |
11.6 | สารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค | ปริมาณที่เหมาะสม |
12.2 | เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรส | 2000 |
12.3 | น้ำส้มสายชูหมัก | 2000 |
12.4 | มัสตาร์ด | 350 |
12.5 | ซุป | 110 |
12.6 | ซอสและผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน | 1000 |
12.7 | สลัด และผลิตภัณฑ์ทาแซนวิช | 350 |
13.3 | อาหารทางการแพทย์ | 500 |
13.4 | อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก | 450 |
13.5 | อาหารมีวัตถุประสงค์เฉพาะทางด้านโภชนาการ | 450 |
13.6 | ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร | 2000 |
14.1.3.1 | น้ำผลไม้ชนิดเนคต้า | 350 |
14.1.3.2 | น้ำผักชนิดเนคต้า | 350 |
14.1.3.3 | น้ำผลไม้เนคต้าเข้มข้น | 350 |
14.1.3.4 | น้ำผักเนคต้าเข้มข้น | 350 |
14.1.4 | เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรส | 425 |
14.1.5 | กาแฟ เครื่องดื่มแทนกาแฟ ชา ชามสมุนไพรชนิดชงดื่ม (Herbal infusion) และเครื่องดื่มจากธัญชาติชนิดต่างๆ ไม่รวมโกโก้ | 600 |
14.2.7 | เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่แต่งกลิ่นรส | 350 |
15 | ขนมขบเคี้ยว | 350 |
Acesulfame K สามราถทนความร้อนสูงได้ จึงมักถูกใช้ร่วมกับสารให้ความหวานตัวอื่น เช่น แอสพาร์แทม (Aspartame) เพื่อลดรสขม และเสริมฤทธิ์ให้มีความหวานเพิ่มขึ้นด้วย โดยนิยมใช้ใส่ในเครื่องดื่มต่างๆ รวมทั้งน้ำอัดลม เช่น PepsiMax®, Cocacola Zero® Cocacola Light®
องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้ Acesulfame K ในอาหารต่างๆ ได้แก่
แหล่งอ้างอิง:
https://s3.amazonaws.com/thai-health/สารให้ความหวาน–น้ำตาลเทียม- artificial-sweetener