บทความนี้ต้องการให้ข้อมูลและแก้ปัญหาให้กับผู้อ่านทั้งมือใหม่จนถึงนักวิทยาศาตร์ด้านอาหาร (Food Scientist) สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องวิทยาศาตร์อาหารเราจะปูพื้นให้เข้าใจเรื่องของ Food additive (วัตถุเจือปนอาหาร) ในแง่มุมต่างๆ และสามารถใช้ได้อย่างถูกต้องเพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพอาหารของตนเอง อย่างปลอดภัย และดีต่อผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตหรือแม่ครัวพ่อครัวใช้กันอย่างที่ไม่มีความเข้าใจซึ่งอาจทำให้อาจจะเกิดผลเสียได้
สำหรับผู้อ่านที่มีความรู้ดีอยู่แล้ว เช่นนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร เราได้รวบรวมกฏหมายต่างๆที่เกี่ยวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารและการขึ้นทะเบียน อย. ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย
วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) คือ วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ มาตรฐาน หรือลักษณะของอาหาร
ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่ไม่ได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมกับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น โดยไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน
การพิจารณาความเหมาะสมในการใช้วัตถุเจือปนอาหาร(Food Additive) เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญ ดังนี้
ในการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive)ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้ใช้ในแต่ละประเภทอาหารต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) ที่ใช้ต้องมีการประเมินด้านความปลอดภัยโดย JECFA หรือผ่านการประเมินที่มีความเทียบเท่ากับ JECFA เพื่อกำหนดค่าความปลอดภัย (Acceptable Daily Intake: ADI) คือปริมาณของวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive)ที่แสดงในรูปของมิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน โดยบริโภคได้ทุกวันตลอดชีวิตโดยไม่เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ
โคเด็กซ์ (Codex) ได้จัดแบ่งกลุ่มวัตถุเจือปนอาหารตามหน้าที่ ออกเป็น 27 กลุ่ม ดังนี้ คือ
เป็นหน่วยงานรวมกันระหว่าง FAO ของ UN และ WHO ซึ่งทาง อย. ของเราให้การเชื่อถือและอ้างอิงมาตรฐานต่างๆ มีการกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานและค่าความปลอดภัยไว้ในมาตรฐานสากล (JECFA specification หรือ Codex Advisory Specification for the identity and Purity of food Additives) ของวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) แต่ละตัว
ตามลิงค์: http://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/codex-texts/dbs/gsfa/en/
เป็นหน่วยงานกลางของ EU ที่ออกกฏเกณฑ์และการควบคุมสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาหารคนและอาหารสัตว์ ซึ่งรวมถึงการใช้วัตถุเจือปนอาหารด้วย ทั้งนี้ EFSA เป็นคนที่กำหนด E-number
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า อย. เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ควบคุมการผลิต การนำเข้า การแจกจ่าย และออกกฏเกณฑ์เกี่ยวกับ อาหาร ยา วัตถุเสพติด เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์ สมุนไพร
วัตถุเจือปนอาหารที่จะนำมาใช้ในอาหารได้นั้น จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานซึ่งแจ้งไว้ในประกาศต่างๆ ดังนี้
1.1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00147362.PDF
1.2 ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารเล่ม 1
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/food_additives_V1.pdf
1.3 ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารเล่ม 2
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/food_additives_V2.pdf
1.4 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารชนิดเดี่ยว (11 ชนิด)
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00169847.PDF
1.5 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารชนิดเดี่ยว (ฉบับที่ 2) (2 ชนิด)
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00174680.PDF
1.6 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารชนิดเดี่ยว (ฉบับที่ 3) (1 ชนิด)
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/105/47.PDF
1.7 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารชนิดเดี่ยว (ฉบับที่ 4) (2 ชนิด)
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/E/103/31.PDF
1.8 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารลักษณะผสม
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00153092.PDF
1.9 ประกาศสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารประเภทวัตถุที่ใช้รักษาคุณภาพหรือมาตรฐานอาหาร
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00167973.PDF
1.10 ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานสำหรับยีสต์สดจากยีสต์แซ็กคาโรโมซีส เซรีวิซิอี
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/yeast.pdf
1.11(1) ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานสำหรับสารสกัดให้สีจากส่วนของพืชหรือสัตว์
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/Extract-from-the-Plant-or-Animal.pdf
(2) บัญชีรายชื่อพืชหรือสัตว์ที่อนุญาตให้นำมาใช้ทำสารสกัดให้สีจากส่วนของพืชหรือสัตว์
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/ListOfPlants.pdf
1.12 ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานตาม Codex Advisory Specification for the Identity and Purity of Food Additives
ตามลิงค์ : http://www.fao.org/food/food-safety-quality/scientific-advice/jecfa/jecfa-additives/en/
1.13 ข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานสำหรับจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตอาหาร
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/61_microorganism.pdf
1.14 ข้อกำหนดคุณภาพมาตรฐานของเอนไซม์สำหรับใช้ในการผลิตอาหาร (ข้อ 4 ในประกาศฯ)
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/203/T_0017.PDF
1.15 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง เพิ่มเติมคุณภาพมาตรฐานของเอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตอาหาร
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/080/T_0057.PDF
1.16 ข้อกำหนดคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อที่ใช้สำหรับอาหาร (ข้อ 4 และ 5 ใน
ประกาศฯ)
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/278/T_0034.PDF
เมื่อวัตถุเจือปนได้การตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน ตามที่ อย กำหนดแล้ว ผู้ผลิตจะต้องตรวจสอบปริมาณการใช้ให้เหมาะสมและถูกต้องตามกฏหมาย โดยปริมาณการใช้จะแตกต่างในอาหารแต่ละประเภท
2.1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ.2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) (ยกเลิกบัญชีแนบท้าย)
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/P381_cut.pdf
2.2 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 379) พ.ศ. 2559 เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 359) พ.ศ. 2556 เรื่อง ซัยคลาเมต, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 380) พ.ศ. 2559 เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2556 เรื่อง สตีวิออลไกลโคไซด์ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/379_380_381.pdf
2.3 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (เลขที่ 389) พ.ศ.2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)
ตามลิงค์ : http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P389.pdf
2.4 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (เลขที่ 389) พ.ศ.2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/P389.pdf
2.5 เงื่อนไขการใช้ที่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
บัญชีข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุมัติการใช้เพิ่มเติม
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/FoodAdditivesAccount.pdf
ทาง อย มีการกำหนดข้อความและฉลากที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและไม่บิดเบือน ป้องการการกล่าวอ้างเกินจริง
3.1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 363 พ.ศ. 2556 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2)
ตามลิงค์ : http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P363.pdf
3.2 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 372) พ.ศ.2558 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 3)
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/321/14.PDF
3.3 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ยกเลิกบัญชีแนบท้าย)
หมายเหตุ : ข้อ 4 และข้อ 5 ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร
ตามลิงค์ : http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P367.PDF
3.4 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ 2)
ตามลิงค์ : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/097/24.PDF
4.1 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ วัตถุเจือปนอาหารที่แตกต่างไปจากข้อกำหนดในโคเด็กซ์
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/FA_Codex.pdf
5.1 ข้อกำหนดการใช้วัตถุที่ห้ามใช้และอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/no-requirements.pdf
5.2 หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติกรณีที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารอื่นเพื่อรักษาคุณภาพของวัตถุเจือปนอาหาร วัตถุแต่งกลิ่นรส หรือสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ (Food additives in Food additives/Food Flavourings Agents/Nutrients)
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/foodAd_foodAd.pdf
5.3 หลักเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยสำหรับวัตถุเจือปนอาหารตามแนวปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยสารเคมีของโคเด็กซ์ (Environmental Health Criteria 240 Principles and Methods for the Risk Assessment of Chemicals in Food)
ตามลิงค์ : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/FoodAdditives/EHC240.pdf
ในหมวดนี้จะกล่าวถึงวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ แต่มักมีการใส่ในปริมาณที่มากเกินไป หรือในอาหารที่ไม่ควรใส่ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้ต้องพิจารณาวัยของผู้บริโภคประกอบด้วย
แบ่งอันตรายจากการใช้วัตถุเจือปนอาหารเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ที่มาจากเว็บไซต์ : http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=7&ID=326
สารในหมวดนี้เป็นสารเคมี ที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร มีอันตรายเป็นที่ประจัก แต่ในอดีตอาจจะมีการใช้ในอาหาร ทำให้ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด
จากบทความทั้งหมด คุณน่าจะได้เห็นแล้วว่า food additive นั้นมีประโยชน์มาก ถ้ามีการใช้อย่างเหมาะสม สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารให้ดีเหมาะกับการขายในเชิงอุตสาหกรรม และช่วยให้เกิดการสร้างรายได้และลดของเสีย แต่ถ้าใช้อย่างผิดๆ จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ ทั้งนี้ในบทความได้มีข้อกฏหมายต่างๆ จากทาง อย เพื่อให้มีการใช้สารเคมีเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง
อีกประการ คุณจะเห็นได้ว่า การนำเข้าสารเคมีแต่ละตัว หรือ ใช้สารเคมีที่เป็นวัตถุเจือปนอาหารแต่ละตัวนั้น ขึ้นกับข้อกฏหมายหลายข้อ และต้องมีเอกสารประกอบมากมาย บริษัททินกรขายสารเคมีในอาหารมาอย่างยาวนาน สำหรับสารเคมีที่ซื้อจากบริษัทของเรา เราสามารถช่วยคุณได้ในเรื่องเอกสารต่างๆ สำหรับขึ้นทะเบียน อย และผู้เชี่ยวชาญของเราสามารถแนะนำวิธีการใช้งานที่ถูกต้องแก่คุณได้