Pea Protein (พีโปรตีน) คือโปรตีนที่ได้จากถั่วลันเตาสีเหลือง ไม่ใช่โปรตีนจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นโปรตีนทางเลือกนึง สำหรับคนที่ต้องการโปรตีน ที่ไม่ทำให้อ้วน จึงเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับคนรักสุขภาพหรือชาววีแกน
โปรตีนมีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลา ไข่ หรือนม แต่ถ้ากินโปรตีนจากสัตว์ จะต้องรับเอาไขมันและคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกาย แถมยังย่อยยากกว่าโปรตีนจากพืช และอีกอย่าง โปรตีนจากพืช ส่วนใหญ่ได้มาจากธัญพืช ถั่วลันเตา และพืชตระกูลถั่วนานาชนิด
อย่างไรก็ตาม Pea Protein (พีโปรตีน) ได้มาจากจากถั่วลันเตาสีเหลืองโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติทางโภชนาการที่ดี มีกรดอะมิโนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล จึงเหมาะกับคนที่ต้องการเพิ่มโปรตีน คนออกกำลังกาย คนรักสุขภาพ คนที่รับประทานมังสวิรัติ หรือคนที่แพ้แลคโตส เป็นต้น
ประโยชน์ของ Pea Protein (พีโปรตีน) หรือโปรตีนจากถั่วลันเตาสีเหลือง มีคุณปะโยชน์หลากหลาย ดังนี้
จากการศึกษามากมายแสดงให้เห็นว่า pea protein มีคุณสมบัติในการทำให้อิ่ม ส่งผลให้คนลดการบริโภคอาหารโดยรวม จากการสึกษาหนึ่งนักวิจัยพบว่าการรับประทาน pea protein 20 กรัมต่อการรับประทานอาหารของผู้ชายที่มีสุขภาพดีอายุระหว่าง 20-30 ปี ส่งผลให้มีการรับประทานอาหารน้อยกว่ากลุ่มควบคุม และยังสามารถลดแคลอรี่ได้ถึง 12% อีกทั้งยังงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก่อนมื้ออาหารเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่า pea protein มีประสิทธิภาพมากกว่าเวย์โปรตีนหรือโปรตีนนมอื่นๆ ในการลดความหิว ซึ่งเป็นผลมาจากกลไลการทำงานของ pea protein ในการเพิ่มระดับของฮอร์โมนความอิ่ม CCK และ GLP-1
การรับประทานอาหารเข้าไปจะทำให้ร่างกายผลิตความร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเผาผลาญแคลอรี่ (thermogenesis) เพื่อสร้างพลังงานที่จำเป็นสำหรับการย่อยอาหาร การดูดซึม เมแทบอลิซึม และการจัดเก็บสารอาหารที่ได้จากอาหาร จากงานวิจัยของ Claessens et al.(2007) พบว่า การบริโภค pea protein และ soy protein ทำให้เกิด thermogenesis ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบริโภค pea protein จะช่วยในการลดน้ำหนัก ด้วยการช่วยทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ส่งผลให้เป็นการลดการบริโภคอาหาร และกระตุ้นกระบวนการ thermogenesis เพื่อช่วยในการเผาผลาญแคลอรี่
อีกทั้งการบริโภค pea protein จะไปลดระดับเกรลิน (ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความหิว ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นและหลีกเลี่ยงความอยากอาหาร และไปกระตุ้นโกรทฮอร์โมน (human growth hormone) แทน ในการสลายเนื้อเยื่อไขมันและสร้างกล้ามเนื้อ จึงช่วยให้ลดน้ำหนักส่วนเกินได้
Pea Protein เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ที่มีกรดอะมิโนครบถ้วนทั้ง 9 ชนิด ซึ่งช่วยซ่อมแซม เสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อได้ดี อีกทั้ง pea protein ยังมีกรดอะมิโน เช่น แอล-อาร์จินีน (L-arginine) ที่มีช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยกระตุ้น
โกรทฮอร์โมน (human growth hormone) อีกด้วย จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the International Society of Sports Nutrition เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 สรุปว่า โปรตีนถั่วลันเตาสามารถใช้แทนเวย์ได้ในการสร้างกล้ามเนื้อ biceps
ดังงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Epidemiology พบว่า การทานโปรตีนจากพืชในระยะยาวช่วยลดโรคหัวใจได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ดังนั้นหากเรามีภาวะเสี่ยงด้านหัวใจอยู่แล้ว คุณควรทานอาหารที่ช่วยลดค่าการอักเสบ เช่น Pea protein และอาหารจากพืชอื่นๆ
มีการศึกษามากมายพบว่าการบริโภค pea protein เพียงไม่กี่กรัมต่อวันก็เพียงที่จะช่วยในการลัดความดันโลหิตได้ จากการศึกษาในปี 2016 ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การอาหาร ได้มีการสำรวจว่าหนูที่มีความดันโลหิตสูงโดยธรรมชาติที่กิน pea protein hydrolysate ในระยะเวลาสั้นๆ และระยะยาว จะช่วยลดความดันโลหิตในหนูได้หลังจากผ่านไปเพียงสามสัปดาห์
หากเราบริโภคโปรตีนมากเกินไปอาจเป็นอัตรายต่อไตได้ หรือการบริโภคโปรตีนบางชนิด เช่น เวย์ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นอันตรายต่อไต ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องอืด มีก๊าซ และปัญหาอื่นๆ ในระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตามมีการศึกษาจำนวนหนึ่งพบว่า pea protein เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องไต โดย University of Manitoba พบว่า pea protein ป้องกันหรือชะลอความเสียหายของไตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้
Pea Protein (พีโปรตีน) มีส่วนช่วยคงระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ เพราะ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพในหลายด้าน และอาจทำให้เกิดอาการของเบาหวานได้ เช่น อ่อนเพลียเรื้อรัง กระหายน้ำ บาดแผลหายช้า เป็นต้น
Pea Protein (พีโปรตีน) หรือโปรตีนถั่วจากลันเตา มีลักษณะเป็นผงสีเหลืองหรือครีม นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ขนมและอาหารประเภทซีเรียล ขนมอบ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ไส้กรอก และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เป็นต้น อีกทั้งสามารถใช้ร่วมกับโปรตีนพืชอื่นๆ เช่น โปรตีนจากถั่วเหลือง หรือโปรตีนจากแหล่งอื่น เพื่อเสริมสร้างคุณค่าทางโภชนการทางอาหารให้กับผลิตภัณฑ์
อาจร่วมกับโปรตีนพืชอื่นๆ และไฟเบอร์ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากขึ้นด้วยการผสมกับสารให้ความหวานและสารแต่งกลิ่นรส เช่น วานิลลา ช็อกโกแลต กาแฟ เป็นต้น
เช่น อาหารทานเล่น ไส้กรอกเทียม และผลิตภัณฑ์เนื้อเทียม เป็นต้น เพื่อเพิ่มโปรตีนให้กับสินค้า อย่างไรก็ตามเพื่อให้เนื้อสัมผัสและรสชาติอร่อยมากขึ้น จำเป็นต้องมีส่วนประกอบของไฟเบอร์และ thickeners เช่น Methylcellulose และ Carrageenan เป็นต้น เพื่อปรับปรุงเนื้อสัมผัส และอาจมีการเติมเครื่องเทศ เครื่องปรุงรสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกลือ น้ำตาล พริกไทย กระเทียม หัวหอม รากผักชี ออริกาโน่ ไธม์ โรสแมรี่ โหระพา และกลิ่น เพื่อเสริมรสชาติให้น่ารับประทานมากขึ้น หรืออาจนำ pea protein mince อย่างเดียวที่ไม่ได้มีส่วนประกอบอื่นและไม่ได้แต่งกลิ่นรส ไปปรุงสุกกับซอสต่างๆ ในการประกอบอาหาร
อาจผสมร่วมกับเมล็ดธัญพืชอื่นๆ เช่น flax seed และ chia seed ในปัจจุบันสินค้าเหล่านี้ได้รับการพัฒนาสูตรต่างๆ มากมาย เพื่อให้ทานได้ง่ายมากขึ้นและน่ารับประทานมากขึ้น
สำหรับ cereal bar มีทั้งรสช็อกโกแลต ชาเขียว สตรอเบอร์รี่ เป็นต้น ขนมเหล่านี้มักนิยมถูกรับประทานก่อนออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย เพื่อทดแทนมื้ออาหารช่วยให้อิ่มท้อง ไม่ต้องทนหิว หรือจะทานระหว่างออกกำลังกายได้เช่นกัน
ผลิตภัณฑ์ไอศครีม แบรนด์ Magnum ได้ผลิตไอศครีมรสวานิลลาที่ทำจาก pea protein และน้ำมันมะพร้าว ส่วนช็อกโกแลตทำจากเมล็ดโกโก้
สำหรับโยเกิร์ตที่ทำจากพืชของแบรนด์ Daiya จะทำจากโปรตีนถั่วลันเตา ร่วมกับบลูเบอรี่
แหล่งข้อมูล
Nutrition Facts: Peas. Nutrition. vegonline.org. Retrieved February 28, 2015.
Gausserès N, Mahè S, Benamouzig R, Luengo C, Drouet H, Rautureau J, Tomè D. The
gastro-ileal digestion of 15N-labelled pea nitrogen in adult humans. Br J Nutr.
1996 Jul;76(1):75-85.
Smith CE, Mollard RC, Luhovyy BL, Anderson GH. The effect of yellow pea protein and
fibre on short-term food intake, subjective appetite and glycaemic response in
healthy young men. Br J Nutr. 2012 Aug;108 Suppl 1:S74-80.
Diepvens K, Häberer D, Westerterp-Plantenga M. Different proteins and biopeptides
differently affect satiety and anorexigenic/orexigenic hormones in healthy
humans. Int J Obes (Lond). 2008 Mar;32(3):510-8.
Geraedts MC, Troost FJ, Munsters MJ, et al. Intraduodenal administration of intact pea
protein effectively reduces food intake in both lean and obese male subjects.
PLoS One. 2011;6(9):e24878.
Claessens M, Calame W, Siemensma AD, Saris WH, van Baak MA. The
thermogenic and metabolic effects of protein hydrolysate with or
without a carbohydrate load in healthy male subjects. Metabolism. 2007
Aug;56(8):1051-9.