ปัจจุบันผู้บริโภคมองว่าผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ ซึ่งนั่นจะเป็นปัจจัยในการกระตุ้นความต้องการสารสกัดจากพืชที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งตลาดสารสกัดจากพืชมีมูลค่า 43.32 พันล้านดอลลาร์สหัฐในปี 2019 และคาดว่าจะถึง 66.81 พันล้านดอลลาร์สหัฐในปี 2027 ซึ่งเติบโตที่ CAGR 6.0% ในปี 2020 ถึง 2027
เนื่องด้วยประโยชน์ของสารสกัดจากพืช (Plant Extract) ที่หลากหลาย จึงถูกนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการรักษา อาหารและเครื่องดื่ม ด้านการเกษตร ด้านความงาม หรือด้านอื่นๆอีกมากมาย
Plant Extract หรือ สารสกัดจากพืช คือ สารสำคัญ (Active Compounds) ที่สกัดได้จากพืชจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น เปลือก ใบ ลําต้น ดอกผล ราก หัวหรือเหง้า ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์เฉพาะทาง และมีความเป็นลักษณะเฉพาะตัวของพืชในแต่ละชนิดนั้นๆ โดยใช้ตัวทำละลายหรือวิธีการที่เหมาะสมในการสกัด และต้องไม่เปลี่ยนองค์ประกอบของสารสกัดจากพืช
Plant Extract หรือสารสกัดจากพืช ประกอบด้วยส่วนประกอบทางเคมีหลากหลายชนิด ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษา เช่น อัลคาลอยด์, โพลีฟีนอล, แคโรทีนอยด์, โพลีแซ็กคาไรด์, กรดอินทรีย์, แทนนิน, สารสีหรือน้ำมันระเหย
ไฟโตเคมิคอล ที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชเหล่านี้ สามารถจำกัดหรือควบคุมความไม่สมดุลที่เกิดจาก Reactive OIxygen Species (ROS) ที่นำไปสู่การอักเสบ การเสื่อมสภาพของระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ภูมิคุ้มกัน และการเผาผลาญอาหาร หรือแม้แต่การเกิดของเนื้องอก
นอกจากนี้สารสกัดจากพืชบางชนิดยังใช้ประโยชน์ในการต่อสู้กับเชื้อโรค แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเบาหวาน ต่อต้านริ้วรอย ต้านเนื้องอก ต้านไวรัส หรือต้านภูมิแพ้ รวมทั้งถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคผิวหนังและเครื่องสำอางค์ เพราะสารสกัดจากพืชบางชนิดมีฤทธิ์ต้านการระคายเคือง ต้านการอักเสบ การรักษาบาดแผล การป้องกันการติดเชื้อ การฆ่าเชื้อ การปกป้องผิว และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
Ricinus communis เป็นไม้ดอกในวงศ์ Euphorbiaceae ซึ่งส่วนต่างๆ ของพืชที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ใบ ราก ลำต้น ผล และดอก มีรายงานว่าสารสกัดจากใบ ซึ่งสกัดด้วยสารละลายเมทานอล มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเบาหวาน ต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังและทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น S. aureus, P. aeruginosa รวมทั้ง K. pneumoniae และ E. coli มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา Candida albicans รวมทั้งป้องกันตับ และถูกนำมาใช้ในการรักษามะเร็งผิวหนัง นอกจากนี้สารสกัดจากพืชนี้ยังมีฤทธิ์ในการสมานแผล โดยใช้เป็นยาพอกหรือยาพอกบนแผล
Plant Extract หรือสารสกัดพืช นิยมนำไปใช้ประโยชน์ด้วยกันใหญ่ 3 ด้านใหญ่ๆดังนี้
สารสกัดจากพืชมีประโยชน์ในการรักษาต่างๆ มากมาย หลากหลายแขนง ตัวอย่างเช่น
สารสกัดจากพืช มักนิยมนำมาใช้กับความสวยงามอยู่ไม่น้อย โดยส่วนมาก สารสกัดที่นิยมนำมาใช้กับความสวยงามนั้น มักใช้เป็นการต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณเสื่อมสภาพช้า หรือรักษาผิวหน้าให้ดูกระชับ กระจ่างใส ทางทินกรขอยกตัวอย่างดังนี้
สารสกัดจากพืชนิยมถูกนำมาใช้ในการควบคุมศัตรูพืช โดยเฉพาะกับแมลง เช่น ใช้เป็นสารไล่แมลง สารฆ่าแมลง ทำให้แมลงกินพืช-ผักน้อยลง มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลง การผลิตไข่และปริมาณการฟักไข่ลดน้อยลง และลดการวางไข่ของตัวเมีย ตัวอย่างเช่น
ในปัจจุบันมีการแบ่ง Plant Extract ตามหน้าที่การส่งเสริมสุขภาพออกเป็น 27 กลุ่ม ดังนี้
แหล่งข้อมูล
Jennifer et al. (2017). Antibacterial and antifungal activities and phytochemical profile of leaf extract from different extractants of Ricinus communis against selected pathogens. BMC Research Notes. 10:660.
อ.ดร.ฐิติพรรณ ฉิมสุข. สมุนไพร และการนำไปใช้ประโยชน์
ปิยรัตน์ นามเสนา (2557). คุณสมบัติการยับยั้งเชื้อรา Alternaria brassicicola ของสารสกัดหยาบจากใบพืช. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
https://www.mdpi.com/journal/plants/special_issues/biological_activities
https://www.pharmiweb.com/article/what-are-plant-extracts
https://www.verifiedmarketresearch.com/product/global-plant-extractsmarket-size-and-forecast-to-2025/