@tinnakorn

ประโยชน์ของ Essential Oil หรือ น้ำมันหอมระเหย และการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ

หน้าแรก / บทความ / ประโยชน์ของ Essential Oil หรือ น้ำมันหอมระเหย และการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ

  เมื่อพูดถึง Essential oil หรือน้ำมันหอมระเหย ทุกคนคงจะคิดถึงกลิ่นหอม การผ่อนคลาย ที่มีทั้งกลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นกุหลาบ กลิ่นซากุระ หรือกลิ่นผลไม้ต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการดัดแปลงกลิ่นน้ำมันหอมระเหยเป็นกลิ่นต่างๆมากมาย อาทิเช่น กลิ่นกาแฟ กลิ่นแคนดี กลิ่นขนมต่างๆ ที่เพื่อให้ตรงใจกับความชอบของผู้บริโภคให้มากขึ้น

  แต่ในบทความนี้ ทางทินกรฯ จะมาพูดถึง Essential oil หรือน้ำมันหอมระเหย กันว่าจริงๆแล้ว Essential oil หรือน้ำมันหอมระเหย คืออะไร สามารถไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง นอกจากการให้ความหอมที่ทุกคนรู้กัน

Essential oil  หรือ น้ำมันหอมระเหย คืออะไร

  น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) คือ น้ำมันที่มีลักษณะเป็นน้ำมัน เป็นของเหลวที่ระเหยกลายเป็นไอเมื่อได้รับความร้อน ส่งกลิ่นหอมไปทั่ว จึงถูกนำมาใช้ในการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ สามารถพบได้ในธรรมชาติตามส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เมล็ด ราก ใบ เปลือกไม้ ดอก ฯลฯ

  น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) สามารถละลายได้ในเอทานอล สารละลายที่ไม่มีขั้วหรือสารที่มีขั้วอย่างอ่อน ขี้ผึ้ง และน้ำมัน แต่ไม่ค่อยละลายในน้ำ

  น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ส่วนใหญ่เป็นของเหลวที่ไม่มีสีหรือมีสีเหลืองอ่อน มีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ และมีโครงสร้างของโมเลกุลที่สามารถออกซิไดซ์ได้ง่ายด้วยแสง ความร้อน และอากาศ



คุณสมบัติของ Essential oil

  น้ำมันหอมระเหยมีประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติเป็นสารปรุงแต่งกลิ่นในเครื่องสำอางค์ สบู่ เรซิน น้ำหอม นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านจุลินทรีย์ รา และไวรัส ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน ใช้ในการไล่หรือฆ่าแมลง รวมทั้งใช้เป็นสารกันเสียในการถนอมอาหาร ซึ่งได้มาจากแหล่งธรรมชาติและปลอดภัย

  ด้วยเหตุนี้น้ำมันหอมระเหยจึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร ยา และเครื่องสำอางค์นานาชนิด



Essential oil  แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

  น้ำมันหอมระเหยสามารถแบ่งประเภทตามสารประกอบในน้ำมันหอมระเหย โดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มดังนี้


ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbons)

  น้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภทนี้ ประกอบด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจนและคาร์บอนเท่านั้น และถูกจำแนกเป็น terpenes (monoterpenes: C10, sesquiterpenes: C15 และ diterpenes: C20) ไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้อาจเป็น acyclic, alicyclic (monocyclic, bicyclic หรือ tricyclic) หรือ aromatic  

  ตัวอย่างเช่น สารประกอบ Limonene, myrcene, p-menthane, α-pinene, β-pinene, α-sabinene, pcymene, myrcene, α–phellandrene, fenchane, farnesene, azulene, cadinene และ sabinene จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการรักษาต่างๆ

เอสเทอร์ (Esters)

  Esters เป็นสารประกอบที่ให้กลิ่นหอม และสามารถพบได้ในน้ำมันหอมระเหย

  ตัวอย่างเช่น linalyl acetate, geraniol acetate, eugenol acetate และ bornyl acetate นอกจากให้กลิ่นหอมแล้ว สารประกอบกลุ่มนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ต้านกระตุกและเกร็ง ต้านการชัก และต้านเชื้อรา

ออกไซด์ (Oxides)

  Oxides หรือ Cyclic ethers เป็นสารประกอบที่ให้กลิ่นแรงที่สุด ตัวที่เรารู้จักกันมากที่สุด คือ 1,8-cineole เนื่องจากเป็นน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ทั่วไป

  นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่นๆ อีกเช่น bisabolone oxide, linalool oxide, sclareol oxide และ ascaridole ที่มีประโยชน์ถูกใช้เป็นยาขับเสมหะและกระตุ้นระบบประสาท

แลคโตน (Lactones)

  Lactones เป็นสารประกอบที่มีน้ำหนักโมเลกุลค่อนข้างสูง สามารถพบได้ในน้ำมันสกัด  

  ตัวอย่างชอง Lactones ได้แก่ nepetalactone, bergaptene, costuslactone, dihydronepetalactone, alantrolactone, epinepetalactone, aesculatine, citroptene และ psoralen ซึ่งสารประกอบเหล่านี้อาจถูกใช้ในยาลดไข้ ยากล่อมประสาท ลดความดันโลหิต และห้ามใช้สำหรับโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง

แอลกอฮอล์ (Alcohols)

  Alcohols มีประโยชน์ในการรักษามากที่สุดโดยไม่มีรายงานข้อห้ามใช้ สารประกอบนี้มีฤทธิ์ในการต้านนจุลินทรีย์ ฆ่าเชื้อ รักษาสมดุลและบรรเทาอาการกล้ามเนื้อกระตุก

  ตัวอย่างเช่น linalol, menthol, borneol, santalol, nerol, citronellol และ geraniol

ฟีนอล (Phenols)

  ส่วนประกอบ Aromatic เหล่านี้เป็นส่วนที่เกิดปฏิกิริยามากที่สุด อาจเป็นพิษ และเกิดการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะกับผิวหนังและเยื่อเมือก มีคุณสมบัติที่คล้ายกับแอลกอฮอล์แต่เด่นชัดกว่าเนื่องจากมีคุณสมบัติในการต้านจุลินทรีย์ คุณสมบัติช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหลอดเลือดขนาดเล็ก กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและระบบประสาท และอาจช่วยในการลดโคเลสเตอรอลได้

  ตัวอย่างสารประกอบกลุ่มนี้ที่พบบ่อยคือ thymol, eugenol, carvacrol และ chavicol

แอลดีไฮด์ (Aldehydes)

  Aldehydes เป็นส่วนประกอบในน้ำมันหอมระเหย ที่ไม่เสถียรและออกซิไดซ์ได้ง่าย สารประกอบนี้เป็นสารระคายเคืองต่อเยื่อเมือก และก่อให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง สารประกอบนี้มีลักษณะเฉพาะที่ให้กลิ่นผลไม้ที่หอมหวาน และพบได้ในสมุนไพร เช่น เทียนขาวหรือยี่หร่า (Cumin) และอบเชย (Cinnamon)

  ในด้านการรักษา Aldehydes บางชนิดใช้ในการต้านไวรัสและจุลินทรีย์ ใช้ในการขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดไข้และคลายกล้ามเนื้อ

  ตัวอย่างเช่น citral (geranial and neral), myrtenal, cuminaldehyde, citronellal, cinnamaldehyde และ benzaldehyde

คีโตน (Ketones)

  Ketones พบได้ไม่บ่อยนักในน้ำมันหอมระเหย โมเลกุลนี้ค่อนข้างเสถียรและไม่ได้ถูกนำไปใช้เป็นน้ำหอมหรือสารแต่งกลิ่นรส ในบางกรณีคีโตนเป็นพิษต่อระบบประสาทและทำให้แท้งได้

  แต่มีผลในการรักษาบางอย่าง เช่น สร้างเยื่อเมือกใหม่ ต้านไวรัส ยาแก้ปวดและระบบทางเดินอาหาร ด้วยคุณสมบัติเรื่องความเสถียรนิ้ ดังนั้นคีโตนจึงไม่สามารถถูกเผาผลาญได้ด้วยตับ

  ตัวอย่างคีโตนที่พบบ่อยในน้ำมันหอมระเหย เช่น carvone, menthone, pulegone, fenchone, camphor, thujone และ verbenone

Essential oil  มีประสิทธิภาพยังไง นิยมนำเอาไปทำอะไร

น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) นิยมมักนำไปใช้กับ 4 อุตสาหกรรมดังนี้


ด้านอาหาร (Food)

  น้ำมันหอมระเหยถูกใช้เป็นสารต้านจุลินทรีย์และสารกันเสียในอาหารสำหรับซีเรียล ธัญพืช ผัก และผลไม้ น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติในการต้านแบคมีเรีย ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ฆ่าเชื้อรา เนื่องจากประกอบด้วยองค์ประกอบที่ออกฤทธิ์หลากหลาย เช่น terpenes, terpenoids, carotenoids, coumarins, curcumins มีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมอาหาร

  ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ของน้ำมันหอมระเหยจึงมีความเป็นไปได้ที่จะถูกนำมาใช้เป็นสารต้านจุลินทรีย์ที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับใช้ในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารในอนาคต นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอาหารได้อีกด้วย


ด้านการเกษตร (Ugriculture)

  น้ำมันหอมระเหยถูกนำมาใช้ในการต้านแมลง เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น น้ำมันหอมระเหยจาก Chenopodium ambrosioides, Clausena pentaphylla, Mentha arvensis และ Ocimum sanctum ถูกใช้เป็นสารรมควันในการต้าน Callosobruchus chinensis และ C. maculatus

  ในทำนองเดียวกันน้ำมันหอมระเหยจาก Tanacetum nubigenum ใช้เป็นสารรมควันในการต้าน Tribolium castaneum ซึ่งส่งผลต่อข้าวสาลีระหว่างการเก็บรักษา

  สำหรับน้ำมันหอมระเหยจาก Eucalyptus globulus มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรีย Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ดังนั้นจึงมีผลกับทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ


ด้านเครื่องสำอาง (Cosmetics)

  น้ำมันหอมระเหยถูกใช้เป็นสารกันเสียตามธรรมชาติที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ ตัวอย่างเช่น น้ำมันหอมระเหยจาก Artemisia afra, Pteronia incana, Lavandula officinalis และ Rosmarinus officinalis มีประสิทธิภาพในการลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในสูตรครีม

  ในปัจจุบันได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ร่วมกันของน้ำมันหอมระเหยกับสารกันเสียแบบสังเคราะห์หรือสารลดแรงตึงผิวเพื่อพัฒนาสูตรเครื่องสำอางค์

  นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยจากมะพร้าว ขมิ้น โหระพา กานพลู อะโวกาโด ถูกนำมาใช้ในสกินแคร์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง และช่วยรักษาอาการอักเสบบนผิวหนังและลดริ้วรอยได้ดี

  รวมทั้งน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปตัส โรสแมรี่ หรือเจอราเนียม ช่วยในการปรับสภาพผิวและเพิ่มความชุ่มชื้นเพื่อป้องกันปัญหาผิวหนังแตกกร้าน

  และมีน้ำมันหอมระเหยยังสามารถช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด หลับสบาย ใช้ในการบำบัดรักษาร่างกายและจิตใจ


ด้านการรักษา (Treatment)

  น้ำมันหอมระเหยถูกนำมาใช้ในการรักษาในด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น น้ำมันหอมระเหยคาโมมายล์จาก Matricaria chamomilla ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์หลักเป็น bisabolol และ chamazulene มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ต้านการแพ้ รักษาและลดอาการคัดจมูก และต้านอาการกระสับกระส่าย

  น้ำมันหอมระเหยโป๊ยกั๊กจาก Pimpinella anisum ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์หลักเป็น anethole มีคุณสมบัติในการขับลม ขับปัสสาวะ และใช้เป็นยากระตุ้นหัวใจ

  น้ำมันหอยระเหยกานพลูจาก Syzygium aromaticus ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์หลักเป็น eugenol และ eugenyle acetate มีคุณสมบัติในการต้านไวรัส ต้านจุลินทรีย์ ต้านเชื้อรา ลดความดันโลหิต แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และขับลม

  น้ำมันหอยระเหยอบเชยจาก Cinnamomum cassia ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์หลักเป็น cinnamaldehyde มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต รวมทั้งใช้เป็นยาบำรุงมดลูก และยาต้านการแข็งตัวของเลือด

  น้ำมันหอยระเหยส้มหวานจาก Citrus sinensis ประกอบด้วยสารออกฤทธิ์หลักเป็น Limonene มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ใช้เป็นยากล่อมประสาท ยาขับลม แก้ท้องอืด รวมทั้งยังถูกใช้เป็นสารแต่งกลิ่นรสที่ดีเยี่ยมอีกด้วย



Essential oil (น้ำมันหอมระเหย) ที่มีในปัจจุบัน

  • Asafoetida oil (น้ำมันจาก Hing สกุลมหาหิงคุ์)
  • Ajowan oil (น้ำมันเทียนเยาวพาณี)
  • Aniseed oil (น้ำมันเทียนสัตตบุษย์)
  • Basil oil (โหระพา)
  • Bay Leaf Oil (ใบกระวาน)
  • Bergamot oil  (น้ำมันมะกรูด)
  • Black Pepper oil (น้ำมันพริกไทยดำ)
  • Caraway oil  (น้ำมันเทียนตากบ)
  • Cardamom oil (น้ำมันกระวาน)
  • Cassia oil  (น้ำมันอบเชยจีน)
  • Celery oil  (น้ำมันขึ้นฉ่ายฝรั่ง)
  • Chamomile oil (น้ำมันดอกคาโมมายด์)
  • Cinnamon Bark oil (น้ำมันเปลือกอบเชย)
  • Cinnamon Leaf oil  (น้ำมันใบอบเชย)
  • Citriodora oil (น้ำมันเลมอนยูคาลิปตัส)
  • Citronella oil  (น้ำมันตะไคร้หอม)
  • Clove Bud oil (น้ำมันดอกกานพลู)
  • Clove Leaf oil (น้ำมันใบกานพลู)
  • Coriander oil (น้ำมันผักชี)
  • Cumin oil  (น้ำมันยี่หร่า)
  • Curry Leaf oil  (น้ำมันใบแกง)
  • Davana oil  (น้ำมันสมุนไพรอินเดีย)
  • Dill Oil (น้ำมันผักชีลาว)
  • Eucalyptus oil (น้ำมันยูคาลิปตัส)
  • Fennel oil  (น้ำมันยี่หร่าฝรั่ง)
  • Ferulic oil (น้ำมันรำข้าว)
  • Frankincense oil (น้ำมันกำยาน)
  • Garlic oil (น้ำมันกระเทียม)
  • Geranium oil (น้ำมันเจอเรเนียม)
  • Ginger oil  (น้ำมันขิง)
  • Gingergrass oil  (จินเจอร์กลาส)
  • Grapefruit oil (น้ำมันเกรฟฟรุ้ท)
  • Green Pepper oil  (น้ำมันพริกหยวก)
  • Juniper oil (น้ำมันจูนิเปิร์ เบอร์รี่)
  • Lemon oil (น้ำมันหอมระเหยจากเลม่อนหรือมะนาวเหลือง)
  • Lemongrass oil (น้ำมันตะไคร้)
  • Lesser Galanga oil (น้ำมันกระชาย)
  • Lime oil (น้ำมันหอมระเหยไลม์ จากผิวมะนาวไทย)
  • Mace oil (น้ำมันดอกจันทน์)
  • Mint oil (น้ำมันสาระแหน่)
  • Mustard oil (น้ำมันมัสตาร์ด)
  • Nutmeg oil (น้ำมันลูกจันทน์)
  • Orange oil (น้ำมันหอมระเหยจากส้ม)
  • Palmarosa oil (น้ำมันพาลมาโรซา)
  • Patchouli oil (น้ำมันพิมเสน)
  • Peppermint oil (น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์)
  • Pine oil 85% (น้ำมันสน)
  • Rosemary oil (น้ำมันโรสแมรี่)
  • Sage oil (น้ำมันดอกเสจ)
  • Spearmint oil (น้ำมันสเปียร์มิ้นท์)
  • Star Anise oil (น้ำมันโป๊ยกั๊ก)
  • Tea Tree oil (น้ำมันทีทรี)
  • Thyme oil (น้ำมันไทม์)
  • Turmeric oil (น้ำมันขมิ้น)
  • Vetiver oil (น้ำมันหญ้าแฝก)
  • White Pepper oil (น้ำมันพริกไทยขาว)

แหล่งอ้างอิง

Abdelouaheb Djilani and Amadou Dicko (2012). The Therapeatic Benefits of Essential
        Oils. Nutrition. Well-Being and Health, P.155-178.

Mariola Dreger and Karolina Wielgus (2013). Application of essential oils as natural
        cosmetic preservatives. Review article. Kerla polonica. Vol.59, No.4, P.142-156.

Pandey et al. (2017). Essential Oils: Sources of Antimicrobials and Food Preservatives.
        Mini review article 2161. Frontiers in Microbiology. Vol.7, P.1-14.



  บริษัท ทินกร เคมีคอล แอนด์ ซัพพลาย จำกัด เป็นตัวแทนผู้นำเข้าน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) จากประเทศอินเดีย ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องเครื่องเทศและน้ำมันหอมระเหย

  และเรามีมาตรฐานต่างๆในระดับสากล ทำให้มั่นใจได้ในคุณภาพของสินค้า และบริการจากเรา ตลอดจนสินค้าถึงมือท่าน

Related articles